Jet Lag |
เพราะฉะนั้น ผู้โดยสารที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปสหรัฐอเมริกา จะเกิดอาการ jet lag ได้ง่าย เนื่องจากเกิดอาการเหนื่อยล้าจากการเดินทางข้ามเขตเวลา
เนื่องจากในประเทศสหรัฐอเมริกาเวลา 11.00น.ซึ่งตรงกับเวลาในประเทศไทยคือประมาณ 23.00น.ดังนั้นร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน และนั่นคือสาเหตุของคำว่า jet lag
ตรวจสอบว่ามีอาการ jet lag
ความรู้สึกเหล่านี้ บางคนอาจมีมากกว่าหนึ่ง ตั้งแต่เป็นความรู้สึกเหนื่อยไม่รู้หาย เกิดอาการง่วงนอน
อ่อนเพลีย รู้สึกหดหู่ อารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ กลางคืนนอนไม่หลับแต่กลางวันง่วงหงาว ฉุนเฉียวง่าย สับสน และสูญเสียความจำ
ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ
และอัตราการหายใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่เดินทางไกล
|
||
ก่อนการเดินทาง
ค่อยๆ ปรับเวลาของการรับประทานอาหาร เวลานอน และการพักผ่อน
จนใกล้เคียงกับสถานที่ที่จะไป เพื่อว่าในวันที่เราต้องออกเดินทาง
ร่างกายจะสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ไม่ตึงเครียดหรือเกิดอาการผิดปกติเมื่อเริ่มต้นการเดินทาง
ระหว่างการบิน
แต่งตัวสบายๆ ไม่รัดจนเกินไป และตั้งเวลาตามจุดหมายปลายทาง จากนั้นเริ่มต้นปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันที่เคยทำ
เช่น ถ้าตอนเช้า เรามักจะเดินออกกำลังกาย ให้นึกว่ากำลังทำอย่างนั้น หรือออกกำลังกายบางชนิดในที่นั่งแทน
รับประทานอาหารเบาๆ และหากเป็นไปได้ รับประทานอาหารที่เหมาะสมตามเวลาของจุดหมายปลายทาง
พยายามหลีกเลี่ยงกาเฟอีน และพวกแอลกอฮอล์ต่างๆ
เพราะจะมีผลในการขจัดน้ำออกจากร่างกาย รวมทั้งหลีกเลี่ยงลูกอม เพราะจะทำให้เราไม่ได้พักผ่อน
นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเปล่ามากๆ เพื่อลดความกดดันของอากาศ
และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย และปิดท้ายด้วยการนอน และตื่นขึ้นตามตารางเวลาของจุดหมายปลายทาง
| ||
เมื่อถึงที่หมาย
ให้นอนตามเวลาของท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งทำกิจกรรมต่างๆ ตามเวลาที่กำหนด
หากว่าเวลาที่เรามากับเวลาที่เราอยู่ห่างกันมาก และจะต้องนอนในช่วงระหว่างเวลากลางวัน
ให้นอนน้อยกว่า 2 ชั่วโมง และให้ออกนอกบ้านในตอนที่มีแสงสว่าง
หมายถึง เวลาเช้า เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ประมาณ 2 ชั่วโมง
เพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้เร็วขึ้น และจบลงด้วยการดื่มนมสักแก้ว
หรือรับประทานไอศกรีมก่อนเข้านอน จะช่วยให้หลับสนิท แต่หากมีปัญหามาก
อาจต้องพบแพทย์เพื่อพึ่งยานอนหลับ ถ้ายังไม่สามารถปรับตัวได้
เป็นอย่างไรบ้างคะเรื่องง่าย ๆ เพียงเท่านี้ก็อาจช่วยให้อาการเจ็ตแล็กบรรเทาไปได้ในระดับหนึ่ง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น